เมนู

สำนักอาฬารดาบส กาลามโคตร และขอเรียนทางปฏิบัตินั้น จัดเป็นอาจารย์คำรบสี่ ปุน จ ปรํ
อีกอาจารย์หนึ่ง คืออุทกดาบส รามบุตร ซึ่งพระโพธิสัตว์เข้าไปถามถึงวัตรปฏิบัตินั้น จัดเป็น
อาจารย์คำรบห้า มหาราช ขอถวายพระพร อาจารย์ทั้ง 5 นี้เป็นอาจารย์สมเด็จพระมหา
กรุณาเจ้า บอกโลกียธรรมให้แต่ยังไม่ได้ตรัส จัดเป็นอาจารย์บอกโลกียธรรมต่างหาก จะได้เป็น
อาจารย์สมเด็จพระพุทธองค์ผู้ทรงสวัสดิภาคเมื่อได้ตรัสนี้หามิได้ ประการหนึ่ง จะได้เป็น
อาจารย์สอนฝ่ายโลกุตรธรรมนี้แก่สมเด็จพระชินสีห์หามิได้ เหตุฉะนี้ สมเด็จพระบรมไตรโลก-
นาถจึงมีพระพุทธฎีกาประภาษว่า ตถาคตจะมีครูบาอาจารย์สั่งสอนหามิได้ บุคคลผู้ใดจะ
เปรียบเสมอสมานปูนปานกับพระองค์เจ้าหามิได้ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชานรากร ทรงพระสวนาการฟังก็สโมสรโสมนัส มีพระราช-
โองการตรัสว่า สาธุ ข้าแต่พระนาคเสน ผู้ประกอบด้วยญาณอันปรีชา สมฺปฏิจฺฉามิ โยมจะ
รับไว้เป็นข้อวัตรปฏิบัติสืบไป แก่กุลบุตรอันจะเกิดมาเมื่อภายหลัง ในกาลบัดนี้
พุทธัสส อาจริยานาจริยปัญหา คำรบ 9 จบเพียงนี้

อัคคาอัคคสมณปัญหา ที่ 10


ภนฺเต นาคเสน ภาสิตํ เจตํ ภควตา อาสวานํ ขยาย สมโณ โหตีติ
ราชา

สมเด็จบรมกษัตริย์ขัตตินรินทร์มิลินท์ภูมินทราธิบดี มีสุนทรพจนารถพระ
ราชโองการตรัสถามอรรถปัญหาบทอื่นว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า
ประกอบด้วยญาณปรีชา ภาสิตํ เจตํ ภควตา พระพุทธฎีกานี้สมเด็จพระองค์ผู้ทรงบุญราศี
สวัสดิภาคหากตรัสโปรดไว้ว่า พระอริยบุคคลที่เป็นอาสวักขัยนั้นแหละเป็นสมณะ ปุน จ ปรํ
ครั้นมาใหม่เล่า สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้า มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายเรียก
นรชาติฝูงคนอันเป็นสมังคี มีความพร้อมเพรียงด้วยธรรม 4 ประการว่าเป็นสมณะ และ
คุณธรรม 4 ประการนี้ คือ ขนฺตี ความอดทนประการ 1 อปฺปาหารตา บริโภคอาหาร
แต่น้อยประการ1 รติวิปฺปหานํ คือประหารเสียซึ่งกำหนัดประการ 1 อกิญฺจนํ หา
กังวลมิได้ประการ 1 สิริเป็นคุณธรรม 4 และธรรมทั้ง 4 นี้ มีอยู่ในสันดานบุคคลเป็น
ปุถุชนประกอบด้วยกิเลส นี่แหละคำพระองค์ตรัสไว้ว่า บุคคลที่เป็นอาสวักขันแล้วเรียกว่า
เป็นสมณะมั่นคงแล้ว คำที่ว่าสมเด็จพระพุทธองค์ว่า นรชาติชนพร้อมด้วยธรรมทั้ง 4